วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

การพิจารณาสำนวนการสอบสวนทางวินัยตำรวจ

การพิจารณาสำนวนการสอบสวน (โดยย่อ)
ตาม กฏ ก.ตร.ว่าด้วยการสอบสวนและพิจารณา พ.ศ.๒๕๔๗
---------------------------การทำรายงานการสอบสวน----------------------------
-  ให้คณะกรรมการฯประชุมพิจารณาลงมติ(ครั้งสุดท้าย)เมื่อสอบสวนเสร็จ ดังนี้        (ข้อ ๓๑)
        (๑)  ผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยหรือไม่ กรณีใด มาตราใด ควรรับโทษสถานใด
        (๒)  กรณีกระทำผิดวินัย อันมิใช่ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือไม่ อย่างไร
        (๓)  กรณีไม่ได้ความแน่ชัดว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดอย่างร้ายแรงที่จะถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออกแต่มีมลทินมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวนนั้น หากจะให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการและควรให้ออกจากราชการตามมาตรา ๑๐๒ หรือไม่ อย่างไร
-  ให้ทำรายงานการสอบสวนตาม แบบ สว.๖ กรรมการฯผู้ใดมีความเห็นแย้งให้ทำความเห็นแย้งแนบไว้กับรายงานการสอบสวน       (ข้อ ๓๒)
-  รายงานการสอบสวนอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญ ดังนี้
        (๑)  สรุปข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานว่ามีอย่างใดบ้าง กรณีที่ไม่ได้สอบสวนพยานหลักฐานเนื่องจากพยานไม่มาหรือจะทำให้การสอบสวนล่าช้าโดยไม่จำเป็น ให้รายงานเหตุให้ปรากฎไว้
        (๒)  วินิจฉัยเปรียบเทียบพยานหลักฐานที่สนับสนุน กับที่หักล้างข้อกล่าวหา
        (๓)  ความเห็นว่า ได้กระทำผิดวินัยหรือไม่ ถ้าไม่ผิดให้เสนอยุติเรื่อง ถ้าผิดให้ระบุการกระทำผิด ดั่งหัวข้อการประชุมพิจารณาลงมติข้างต้น
-  เมื่อทำรายงานการสอบสวนแล้ว ให้เสนอสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งสารบาญต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไปและให้ถือว่าการสอบสวนเสร็จ
--------------------------การพิจารณาสั่งสำนวนการสอบสวน-----------------------------
-  ผู้สั่งแต่งตั้งฯ ตรวจสอบความถูกต้องของสำนวนการสอบสวนว่า การสอบสวนมิชอบหรือบกพร่องหรือไม่     (ข้อ ๓๓)
-  ผู้สั่งแต่งตั้งฯ หรือผู้มีอำนาจ กำหนดประเด็นให้สอบสวนเพิ่มเติมได้ ถ้าคณะกรรมการฯไม่อาจทำได้ ก็ให้ตั้งคณะกรรมการฯชุดใหม่ขึ้นทำการสอบสวนเพิ่มเติมก็ได้ เมื่อเสร็จแล้วให้สั่งไปให้ผู้สั่งฯโดยทำความเห็นที่ได้จากการสอบสวนเพิ่มเติมประกอบไปด้วย      (ข้อ ๓๔)
-  กรณีเป็นการสอบสวนตามมาตรา ๑๐๑ (หย่อนความสามารถ) และปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ผู้มีอำนาจ สั่งการตามผลการสอบสวนโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหรือดำเนินการสอบสวนใหม่ แต่ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบด้วย         (ข้อ ๓๕)
-  การพิจารณาสั่งสำนวนการสอบสวนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน ๒๔๐ วัน นับแต่วันได้รับสำนวน เว้นมีเหตุจำเป็น ก็ให้ขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกิน ๒ ครั้ง ๆ ละไม่เกิน ๖๐ วัน หากไม่แล้วเสร็จ ให้ผู้ถูกกล่าวหากลับคืนสู่ฐานะเดิมและให้ถือว่าไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างสอบสวนนับแต่วันครบกำหนดเวลาดังกล่าวจนกว่าการพิจารณาสั่งการในเรื่องนั้นจะเสร็จสิ้นและมีคำสั่ง        (ข้อ ๓๖)
-  กรณีผู้มีอำนาจฯจะสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก ให้ผู้มีอำนาจฯ ส่งเรื่องให้คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองที่แต่งตั้งขึ้นเพื่อพิจารณากลั่นกรองก่อน
-  การพิจารณาพยานหลักฐาน ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาตามที่ได้แจ้งให้ผู้ถูกล่าวหาทราบและให้โอกาสที่จะชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาแล้วเท่านั้น หากมีพยานหลักฐานนอกเหนือที่สามารถรับฟังลงโทษผู้ถูกกล่าวหาได้ จะต้องดำเนินการให้มีการแจ้งสรุปพยานหลักฐานในส่วนที่เพิ่มเติมและให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วย
-----------------------การสอบสวนที่มิชอบและบกพร่อง---------------------------
-  การสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯไม่ถูกต้อง เช่น น้อยกว่า ๓ คน มีข้าราชการตำรวจน้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ประธานกรรรมการดำรงตำแหน่งน้อยกว่าผู้ถูกกล่าวหา ให้การสอบสวนทั้งหมดเสียไป กรณีเช่นนี้ ให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งใหม่ให้ถูกต้อง            (ข้อ ๓๙)
-  กรณีที่ทำให้การสอบสวนเฉพาะตอนนั้น เสียไป กรณีดังต่อไปนี้ ให้ผู้มีอำนาจฯ สั่งให้คณะกรรมการดำเนินการใหม่ให้ถูกต้องโดยเร็ว       (ข้อ ๔๐)
        (๑)  คณะกรรมการมาประชุมน้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
        (๒)  การสอบปากคำดำเนินการไม่ถูกต้อง เช่น
                -  มีบุคคลอื่นเข้าร่วมสอบสวน
                -  มีกรรมการฯทำการสอบปากคำน้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
                -  มีการจูงใจให้บุคคลให้ถ้อยคำอย่างใดๆ มีบุคคลอื่นยกเว้นทนายความหรือที่ปรึกษาอยู่ในที่สอบสวน
                -  เรียกผู้ซึ่งถูกสอบปากคำเข้ามาในที่สอบสวนเกินคราวละ ๑ คน
                -  การส่งประเด็นสอบสวน ไม่รายงานผู้สั่งตั้งฯ หรือคณะทำการสอบสวนไม่ประกอบไปด้วยหัวหน้าหน่วยงานและข้าราชการตำรวจอย่างน้อยอีก ๒ คน
                -  ผู้ถูกกล่าวหานำทนายความหรือที่ปรึกษาเข้าร่วมฟังการสอบสวนเกิน ๑ คน หรือให้ถ้อยคำแทน
-  กรณีที่ปรากฏว่า คณะกรรมการฯ ไม่ดำเนินการดังต่อไปนี้ ให้ผู้มีอำนาจฯสั่งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการให้ถูกต้องโดยเร็ว และต้องให้โอกาสผูถูกกล่าวหาที่จะชี้แจงให้ถ้อยคำและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาตามที่กำหนดไว้ด้วย       (ข้อ ๔๑)
         (๑)  ไม่เรียกผู้ถูกกล่าวหามารับทราบข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา
         (๒)  ไม่ส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาไปให้ผู้ถูกกล่าวหา
         (๓)  ไม่มีหนังสือขอให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจง หรือนัดมาให้ถ้อยคำ หรือนำสืบแก้ข้อกล่าวหา
-  ในกรณีผู้มีอำนาจสั่งลงโทษไปตามบทมาตราหรือฐานความผิดที่แตกต่างจากที่แจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ แต่ไม่ได้หลงข้อต่อสู้ หรือไม่เสียความเป็นธรรม ให้ถือว่าการสอบสวนและพิจารณานั้นใช้ได้
-  ในกรณีที่ปรากฏว่าการสอบสวนตอนใดทำไม่ถูกต้องนอกเหนือที่กล่าวมา แต่เป็นสาระสำคัญอันจะทำให้เสียความเป็นธรรม ให้ผู้มีอำนาจฯ สั่งให้คณะกรรมการสอบสวนแก้ไขหรือดำเนินการให้ถูกต้องโดยเร็ว      (ข้อ ๔๒)
-  การนับระยะเวลา เวลาเริ่มต้นให้นับวันถัดจากวันแรก แต่ถ้าเป็นกรณีขยายเวลาให้นับต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิม ส่วนเวลาสิ้นสุดถ้าตรงกับวันหยุดราชการให้นับวันเริ่มเปิดทำการใหม่เป็นวันสุดท้ายแห่งระยะเวลา
บทความที่เกี่ยวข้อง
การสอบสวนทางวินัยตำรวจ

สิทธิผู้ถูกกล่าวหาทางวินัยตำรวจ

สิทธิและหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหา (โดยย่อ)
ตามกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา พ.ศ.๒๕๔๗
               -  ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิคัดค้านผู้สั่งแต่งตั้งฯและกรรมการสอบสวน ถ้าผู้นั้นมีความไม่เหมาะสมตาม ข้อ ๓ โดยให้ทำเป็นหนังสือคัดค้าน และให้ยื่นต่อผู้บังคับบัญชาเหนือผู้สั่งแต่งตั้งฯขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง โดยให้ยื่นต่อผู้สั่งแต่งตั้งฯ ภายใน ๗ วัน นับแต่วันรับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯหรือทราบเหตุแห่งการคัดค้าน ให้ผู้ได้รับหนังสือคัดคนส่งสำเนาหนังสือคัดค้านและแจ้งวันที่ได้รับหนังสือให้ประธานกรรมการทราบและรวมไว้ในสำนวนการสอบสวนด้วย    (ข้อ ๓๗)
                    ผู้รับหนังสือคัดค้านให้พิจารณาการคัดค้านโดยไม่ชักช้าแต่ไม่เกิน ๓๐ วัน ถ้าเกินกำหนดให้ถือว่าผู้ที่ถูกคัดค้านพ้นจากการเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาสั่งสำนวนการสอบสวน
                    หากเห็นว่าการคัดค้านมีเหตุผลรับฟังได้ ให้สั่งผู้นั้นพ้นจากผู้มีอำนาจพิจารณาฯ แล้วสั่งให้ผู้ที่มีอำนาจในการแต่งตั้งเป็นผู้พิจารณาแทน หรือเป็นผู้พิจารณาเองก็ได้
                    ถ้าเห็นว่าการคัดค้านไม่มีเหตุผลที่จะรับฟังได้ ให้สั่งยกคำคัดค้านนั้น คำสั่งยกให้เป็นที่สุด
                    การพิจารณาให้แสดงเหตุผลในการพิจารณาสั่งการไว้ด้วย พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบและส่งเรื่องรวมเข้าไว้ในสำนวนการสอบสวน
                    การพิจารณาสั่งการตามผลการสอบสวนที่ดำเนินการเสร็จ หรือพ้นจากการเป็นกรรมการสอบสวน ให้ประธานกรรมการรายงานไปยังผู้สั่งแต่งตั้งฯ เพื่อเปลี่ยนแปลงคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนต่อไป
              -  ผู้ถูกกล่าวหาจะนำพยานหลักฐานมานำสืบแก้ข้อกล่าวหาเอง หรือจะอ้างพยานหลักฐานแล้วขอให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกพยานหลักฐานนั้นมาก็ได้     (ข้อ ๓๘)
              -  ผู้ถูกกล่าวหาอาจยื่นคำชี้แจง หรือขอให้ถ้อยคำ หรือนำสืบแก้ข้อกล่าวหาเพิ่มเติมต่อคณะกรรมการฯ ก่อนการสอบสวนแล้วเสร็จ
              -  หากการสอบสวนแล้วเสร็จแต่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของผู้สั่งแต่งตั้งฯหรือผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจ ผู้ถูกกล่าวหาอาจจะยื่นคำชี้แจงต่อบุคคลดังกล่าวก็ได้ และให้รับคำชี้แจงนั้นรวมไว้ในสำนวนการสอบสวนเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
              -  ผู้ถูกกล่าวหาจะนำทนายความหรือที่ปรึกษาไม่เกิน ๑ คน เข้าร่วมฟังการสอบสวนก็ได้ แต่จะให้ถ้อยคำแทนไม่ได้

การสอบสวนทางวินัยตำรวจ

ขั้นตอนการสอบสวนข้อเท็จจริง (โดยย่อ)
ตามกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา พ.ศ.๒๕๔๗
            -  ใช้สำหรับการสอบสวนพิจารณาข้าราชการตำรวจซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตาม ม.๘๖ วรรคหนึ่ง หรือมีกรณีถูกกล่าวหา หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ ฯลฯ ตาม ม.๑๐๑ วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗  (ข้อ ๒)
            -  ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนและคณะกรรมการสอบสวน ไม่มีคุณสมบัติต้องห้าม  (ข้อ ๓)
            -  คณะกรรมการสอบสวน มีอย่างน้อย ๓ คน ต้องมีประธานกรรมการ และเลขานุการหนึ่งคน  (ข้อ ๔)
            -  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ให้มีสาระสำคัญตาม แบบ สว.๑    (ข้อ ๕)
            -  ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ต้องแจ้งคำสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยเร็ว และส่งสำเนาคำสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนทราบ  (ข้อ ๖)
            -  ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน สามารถเปลี่ยน เพิ่ม ลด กรรมการสอบสวนได้  (ข้อ ๗)
-------------------------หน้าที่คณะกรรมการสอบสวน--------------------------
            -  ต้องสอบสวนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้    (ข้อ ๘)
            -  ต้องรวบรวมประวัติและความประพฤติของผู้ถูกกล่าวหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กล่าวหา   (ข้อ ๙)
            -  จัดทำบันทึกการปฏิบัติไว้ทุกครั้ง   (ข้อ ๑๐)
            -  ห้ามบุคคลอื่นเข้าร่วมทำการสอบสวน   (ข้อ ๑๑)
            -  ประธานกรรมการ ต้องจัดประชุมคณะกรรมการฯเพื่อพิจารณาวางแนวทางการสอบสวน  (ข้อ ๑๒)
            -  ต้องมีกรรมการฯ มาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง เว้นแต่การประชุมตามข้อ ๑๘ , ๓๑ ต้องไม่น้อยกว่าสามคนและไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง การลงมติให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงชี้ขาด  (ข้อ ๑๓)
            -  กรรมการฯผู้ใดเห็นว่าตนมีเหตุอันอาจถูกคัดค้านตาม ข้อ ๓๗ วรรคหนึ่ง ให้รายงานต่อผู้สั่งแต่งตั้งฯ  (ข้อ ๑๔)

------------------------------ระยะเวลาการสอบสวน----------------------------
            -  ให้ทำการประชุม(ครั้งแรก)หลังลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งฯ ภายใน ๑๕ วัน   (ข้อ ๑๕ (๑))
            -  ให้เรียกผู้ถูกกล่าวหามาแจ้งและอธิบายข้อกล่าวหาให้ทราบ หลังคณะกรรมการฯรับทราบคำสั่งฯ ภายใน ๑๕ วัน   (ข้อ ๑๕(๑), ๑๗)
            -  ให้รวบรวมพยานหลักฐานให้เสร็จสิ้นภายใน ๖๐ วัน นับแต่การประชุมครั้งแรกและแจ้งและอธิบายข้อกล่าวหาแล้วเสร็จ   (ข้อ ๑๕(๒))
            -  ให้แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา ให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ ภายใน ๑๕ วัน นับแต่รวบรวมพยานหลักฐานแล้วเสร็จ    (ข้อ ๑๕(๓))
            -  ให้รวบรวมพยานหลักฐานที่ผู้ถูกกล่าวหาอ้างให้เสร็จสิ้นภายใน ๖๐ วัน นับแต่แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบแล้วเสร็จ   (ข้อ ๑๕(๔))
            -  กรณีไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้คณะกรรมการฯรายงานเหตุให้ผู้สั่งแต่งตั้งฯ เพื่อขอขยายระยะเวลาการสอบสวน ผู้สั่งแต่งตั้งฯสั่งขยายระยะเวลาได้ตามความจำเป็นครั้งละไม่เกิน ๖๐ วัน
            -  หากดำเนินการไม่แล้วเสร็จภายใน ๒๗๐ วัน ให้ประธานกรรมการรายงานเหตุให้ผู้สั่งแต่งตั้งฯ ทราบ และให้ผู้สั่งแต่งตั้งฯ ติดตามเร่งรัดการสอบสวนต่อไป      (ข้อ ๑๕ ว.ท้าย)
-------------------------------แนวทางการสอบสวน-----------------------------------
            -  การนำเอกสารหรือวัตถุมาเป็นพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนให้บันทึกว่าได้มาอย่างไร จากผู้ใด เมื่อใด     (ข้อ ๑๖)
            -  เมื่อวางแนวทางการสอบสวนแล้วให้เรียกผู้ถูกกล่าวหามาเพื่อแจ้งและอธิบายข้อกล่าวหาและแจ้งสิทธิให้ทราบตาม แบบ สว.๒ มอบให้ผู้ถูกกล่าวหา ๑ ฉบับ เก็บไว้ในสำนวน ๑ ฉบับ     (ข้อ ๑๗)
            -  ให้ถามว่าได้กระทำตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ อย่างไร
            -  กรณีรับสารภาพ ให้แจ้งให้ทราบว่า เป็นความผิดวินัยกรณีใดหรือหย่อนความสามารถอย่างไร และบันทึกถ้อยคำรับสารภาพรวมทั้งเหตุผล และสาเหตุแห่งการกระทำ เมื่อรวบรวมพยานหลักฐานเสร็จให้ประชุมพิจารณาลงมติ
            -  กรณีปฏิเสธหรือรับสารภาพบางส่วน ให้รวบรวมพยานหลักฐานแล้วประชุมเพื่อพิจารณาต่อไป
            -  กรณีไม่ยอมลงลายมือชื่อ หรือไม่มารับทราบข้อกล่าวหา ให้ทำ แบบ สว.๒ เป็นสามฉบับ โดยส่งให้ผู้ถูกกล่าวหาสองฉบับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ๒ ฉบับ พร้อมหนังสือสอบถามคำให้การ หากไม่ได้รับ แบบ สว.๒ คืน ล่วงพ้น ๑๕ วัน ให้ถือว่าได้รับทราบข้อกล่าวหาแล้ว
------------------เมื่อรวบรวมพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเสร็จ---------------------
            -  ให้ดำเนินการประชุม(ครั้งที่ ๒)เพื่อพิจารณาว่ามีพยานหลักฐานใดสนับสนุนข้อกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำการใด เมื่อใด อย่างไร      (ข้อ ๑๘)
            -  ถ้าเห็นว่า ยังฟังไม่ได้ว่ากระทำการตามที่ถูกกล่าวหา ให้ประชุมพิจารณาลงมติมีความเห็นยุติเรื่อง
            -  ถ้าเห็นว่า เป็นความผิดวินัยฐานใด มาตราใด หรือหย่อนความสามารถอย่างไร ก็ให้เรียกผู้ถูกกล่าวหามาพบเพื่อแจ้งข้อกล่าวหาดังกล่าวและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ทราบ โดยให้ทำบันทึกตาม แบบ สว.๓ ทำเป็นสองฉบับ ให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อ
             -  การแจ้งข้อกล่าวหาฯ ให้ระบุวันเวลาสถานที่ และการกระทำที่มีลักษณะเป็นการสนับสนุนข้อกล่าวหา สำหรับพยานบุคคลจะระบุ หรือไม่ระบุ ชื่อพยาน ก็ได้ โดยให้คำนึงถึงหลัการคุ้มครองพยาน เท่าที่มีตามที่ปรากฎในสำนวน
             -  ให้ถามผู้ถูกกล่าวหาว่าจะยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเป็นหนังสือหรือไม่ ให้โอกาสยื่นอย่างช้าไม่เกิน ๑๕ วัน หากไม่ยื่น ก็ให้ผู้ถูกกล่าวหาให้ถ้อยคำและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาโดยเร็ว เมื่อรวบรวมพยานหลักฐานเสร็จให้ประชุมพิจารณาลงมติ
             -  กรณีไม่ยอมลงลายมือชื่อ หรือไม่มารับทราบข้อกล่าวหา ให้ทำ แบบ สว.๓ เป็นสามฉบับ โดยส่งให้ผู้ถูกกล่าวหาสองฉบับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ๒ ฉบับ พร้อมหนังสือขอให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงนัดมาให้ถ้อยคำและนำสืบแก้ข้อกล่าวหา หากไม่ได้รับ แบบ สว.๓ คืน ล่วงพ้น ๑๕ วัน ให้ถือว่าไม่ประสงค์ที่จะแก้ข้อกล่าวหา แต่ถ้ามีเหตุผลอันสมควรก็ให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาให้ถ้อยคำหรือยื่นคำชี้แจงได้
             -  เมื่อรวบรวมพยานหลักฐานเสร็จ ก่อนเสนอสำนวนต่อผู้สั่งแต่งตั้งฯ ถ้ามีเหตุจำเป็นต้องรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติมก็ให้ดำเนินการได้ ถ้าเป็นพยานหลักฐานสนับสนุนข้อกล่าวหา ก็ให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาที่จะให้ถ้อยคำหรือนำสืบแก้เฉพาะพยานหลักฐานเพิ่มเติมนั้น     (ข้อ ๑๙)
-----------------------------วิธีการสอบปากคำ----------------------------------
             -  ในการสอบปากคำต้องมีกรรมการสอบสวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง   (ข้อ ๒๐)
             -  ก่อนเริ่มสอบปากคำพยาน ต้องแจ้งให้ทราบว่ากรรมการสอบสวนมีฐานะเป็นเจ้าพนักงาน   (ข้อ ๒๑)
             -  ห้ามมิให้ล่อลวง ขู่เข็ญ ให้สัญญา หรือกระทำการใดเพื่อจูงใจให้ให้ถ้อยคำ     (ข้อ ๒๒)
             -  ให้เรียกผู้ถูกกล่าวหาและพยานเข้ามาในที่สอบสวนคราวละหนึ่งคน ห้ามมิให้บุคคลอื่นอยู่ในที่สอบสวน เว้นแต่ทนายความหรือที่ปรึกษาของผู้ถูกกล่าวหา และใช้บันทึกถ้อยคำตาม แบบ สว.๔ หรือ แบบ สว.๕ หากมีการขีดฆ่าตกเติมให้ผู้ให้ถ้อยคำร่วมลงลายมือชื่อกำกับด้วย   (ข้อ ๒๓)
             -  พยานมาแต่ไม่ให้ถ้อยคำหรือไม่มา หรือการสอบสวนจะล่าช้าหรือมิใช่พยานหลักฐานในประเด็นสำคัญจะไม่สอบพยานนั้นก็ได้ แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในบันทึกการปฏิบัติงาน และรายงานการสอบสวน      (ข้อ ๒๔, ๒๕)
             -  ส่งประเด็นไปให้หัวหน้าหน่วยงานต่างท้องที่นั้นสอบสวนแทนได้ โดยหัวหน้าหน่วยงานเลือกข้าราชการตำรวจอย่างน้อยอีกสองคนร่วมเป็นคณะทำการสอบสวน   (ข้อ ๒๖)
             -  กรณีมีมูลว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในเรื่องอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในคำสั่งแต่งตั้งฯ หรือมีข้าราชการตำรวจอื่นมีส่วนร่วมกระทำการในเรื่องที่สอบสวนนั้นด้วย ให้ประธานฯรายงานไปยังผู้สั่งฯโดยเร็ว เพื่อสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคณะใหม่หรือคณะเดิมก็ได้ และแยกเป็นสำนวนการสอบสวนใหม่ก็ได้    (ข้อ ๒๗, ๒๘)
             -  ในกรณีที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด และข้อเท็จจริงที่ปรากฎได้ความประจักษ์ชัด ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาโดยไม่ต้องสอบพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหา แล้วแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ        (ข้อ ๒๙)
             -  ถ้าผู้ถูกกล่าวหาไปอยู่นอกบังคับบัญชาของผู้สั่งฯ ให้สอบสวนต่อไปจนเสร็จ แล้วเสนอผู้สั่งฯ เพื่อส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาคนใหม่หรือมีอำนาจพิจารณาสั่งการสำหรับผู้ถูกกล่าวหาทุกคน ตรวจสอบความถูกต้องของสำนวนการสอบสวน       (ข้อ ๓๐)

บทความที่เกี่ยวข้อง
- การพิจารณาสำนวนการสอบสวนทางวินัย

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

การดำเนินการทางวินัย มาตรา 84 - 90

การดำเนินการทางวินัย 
(หมวด ๖ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ มาตรา ๘๔ - ๙๐)

             มาตรา ๘๔  เมื่อมีการกล่าวหา หรือมีกรณีเป็นที่สงสัย ว่าข้าราชการตำรวจผู้ใดกระทำผิดวินัย
             ให้ผู้บังคับบัญชารีบดำเนินการ(๑)สืบสวนข้อเท็จจริง หรือ(๒)พิจารณาในเบื้องต้น ว่าผู้นั้น กระทำผิดวินัยหรือไม่
             ในการสืบสวนข้อเท็จจริงให้แจ้งเรื่องที่ถูกกล่าวหา หรือถูกร้องเรียน ให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ และให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงข้อเท็จจริงภายในกำหนดเวลา
              -  ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยให้สั่งยุติเรื่องได้
              -  ถ้าเห็นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๘๕ หรือมาตรา ๘๖ แล้วแต่กรณีทันที

             มาตรา ๘๕  เมื่อข้าราชการตำรวจถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
             ให้ผู้บังคับบัญชานำสำนวนการสืบสวนข้อเท็จจริงตามมาตรา ๘๔ มาพิจารณาสั่งการตามมาตรา ๘๙

             มาตรา ๘๙  ข้าราชการตำรวจผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
             -  ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษ ภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กักยาม กักขัง หรือตัดเงินเดือน ตามสมควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด
             -  ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้
                แต่สำหรับการลงโทษภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะกรณีทำผิดวินัยเล็กน้อยหรือมีเหตุอันควรลดหย่อนซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษทัณฑกรรม
             -  ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าผู้กระทำผิดวินัยควรได้รับโทษสูงกว่าที่ตนมีอำนาจสั่งลงโทษ
                 ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาของตนที่มีอำนาจ เพื่อให้พิจารณาดำเนินการเพื่อลงโทษตามควรแก่กรณี
             -  ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดย ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือ หรือว่ากล่าวตักเตือน ก็ได้
             การลงโทษตามมาตรานี้ ผู้บังคับบัญชาจะมีอำนาจสั่งลงโทษผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาในสถานโทษได้เพียงใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร.

              มาตรา ๘๖  เมื่อข้าราชการตำรวจถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
               -  ให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวน
               -  ในการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหา และสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มี ให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ โดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้
                   ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหา
                -  เมื่อดำเนินการแล้ว ถ้าฟังได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัย ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๘๙ หรือมาตรา ๙๐ แล้วแต่กรณี
                -  ถ้าฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัย ให้สั่งยุติเรื่อง
               ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๗๒ หรือผู้บังคับบัญชาอื่นตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร. เป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ตามวรรคหนึ่ง
               ในกรณีที่ข้าราชการตำรวจตำแหน่งต่างกันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอย่างร้ายแรงร่วมกัน
                -  ให้ผู้มีอำนาจสำหรับผู้ถูกกล่าวหาที่มีตำแหน่งในระดับสูงกว่า เป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
               ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาตามมาตรา ๑๐๑ และผลการสอบสวนปรากฎว่า ผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
               -  ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการสั่งการตามผลการสอบสวนโดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวน หรือดำเนินการสอบสวนใหม่
                -  แต่ทั้งนี้ ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ โดยจะระบุหรือไม่ระบุพยานก็ได้ และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย

วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

มาตรฐานคุณธรรมและอุดมคติตำรวจ

              คุณธรรม คือ สภาพคุณงามความดี หรือกฎธรรมชาติฝ่ายดี ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องควบคุมจิตใจให้สงบ และมีความสุขในการดำรงชีวติร่วมกันในสังคม
              มาตรฐานคุณธรรมและอุดมคติของตำรวจ ตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ.๒๕๕๓ ท้าย กฎ ก.ตร.ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๓
             -  เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งให้ข้าราชการตำรวจอยู่ในกรอบของศีลธรรมและคุณธรรม
             -  ขณะเดียวกันก็เป็นแนวทางชี้นำให้ข้าราชการตำรวจบรรลุถึงปณิธานของการเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์
             ข้าราชการตำรวจพึงยึดถือ คุณธรรม ๔ ประการ ตามพระบรมราโชวาท เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งในการประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
             (๑)  การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตนเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
             (๒)  การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ ความดีเท่านั้น
             (๓)  การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าด้วยเหตุประการใด
             (๔)  การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
             ฆราวาสธรรม แปลว่า คุณสมบัติของผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตทางโลก ประกอบด้วยธรรมะ 4 ประการ คือ
             สัจจะ แปลว่า จริง ตรง แท้ มีความซื่อสัตย์เป็นพื้นฐาน เป็นคนจริงต่อความเป็นมนุษย์ของตน
             ทมะ แปลว่า ฝึกตน ข่มจิต และรักษาใจ บังคับตัวเองเพื่อลดและละกิเลส และรักษาสัจจะ
             ขันติ แปลว่า อดทน ไม่ใช่แพียงแต่อดทนกับคำพูดหรือการกระทำของผู้อื่นที่เราไม่พอใจ แต่หมายถึงการอดทนอดกลั้นต่อการบีบบังคับของกิเลส
             จาคะ แปลว่า เสียสละ บริจาคสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่ในตน โดยเฉพาะกิเลสเพราะนั้นคือสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่กับตน ละนิสัยไม่ดีต่าง ๆ
              ข้าราชการตำรวจพึงยึดถือ อุดมคติของตำรวจ ๙ ประการ เป็นแนวทางชี้นำการประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่ เพื่อบรรลุถึงปณิธานของการเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ดังนี้
              (๑)  เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่
              (๒)  กรุณาปราณีต่อประชาชน
              (๓)  อดทนต่อความเจ็บใจ
              (๔)  ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก
              (๕)  ไม่มักมากในลาภผล
              (๖)   มุ่งบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
              (๗)  ดำรงตนในยุติธรรม
              (๘)  กระทำการด้วยปัญญา
              (๙)  รักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิต
              ข้าราชการตำรวจพึงหมั่นศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อพัฒนาตนเองให้ทันโลกทันเหตุการณ์ และมีความชำนาญการในงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ รวมทั้งต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบธรรมเนียมการปฏิบัติของส่วนราชการในกระบวนการยุติธรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบของตน เพื่อสามารถประสานงานได้อย่างกลมกลืนแนบเนียน และเป็นประโยชน์ต่อราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การจัดตั้งศูนย์บริการร่วม

การจัดตั้งศูนย์บริการร่วม
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖
หมวด ๕  การลดขั้นตอนการปฏิบัติ มาตรา ๒๙, ๓๐ , ๓๑ , ๓๒
               (ให้เป็นหน้าที่ของแต่ละกระทรวงต้องจัดส่วนราชการภายในที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานกับประชาชนให้รวมเป็นศูนย์บริการร่วมแห่งเดียวที่ประชาชนจะสามารถติดต่อสอบถาม ขอข้อมูล  ขออนุญาตหรือขออนุมัติได้พร้อมกันทุกเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงนั้น
               (กระทรวงต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่และแบบพิมพ์ที่จำเป็นในศูนย์บริการร่วม  เพื่อให้เจ้าหน้าที่นั้นบริการประชาชนได้อย่างครบถ้วน  โดยเจ้าหน้าที่นั้นจะต้องสามารถแจ้งรายละเอียดรับเอกสารหลักฐานที่จำเป็น  แจ้งให้ทราบระยะเวลาการดำเนินการ และเป็นผู้ติดต่อประสานกับส่วนราชการอื่น  เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายหรือกฎในเรื่องนั้น  ๆ
               (ในการดำเนินการของศูนย์บริการร่วม  ถ้าหากมีปัญหาหรืออุปสรรคที่ไม่อาจดำเนินการได้  เพราะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่มีกฎหมายหรือกฎระเบียบกำหนดไว้  ให้ส่วนราชการแจ้งให้  ก..ทราบเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีให้มีการปรับปรุงกฎหมายหรือกฎระเบียบนั้นต่อไป
               () แนวทางการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมของกระทรวงนี้  ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอจัดให้มีขึ้นในจังหวัดหรืออำเภอ  แล้วแต่กรณี  ตามที่ตนต้องรับผิดชอบด้วย

               การจัดตั้งศูนย์บริการร่วมเป็นการสร้างมาตรการเพื่อลดขั้นตอนในการติดต่อขอรับบริการจากรัฐ  ซึ่งโดยปกติในสภาพกฎหมายปัจจุบัน การดำเนินการสิ่งหนึ่งสิ่งใดของประชาชนจะต้องติดต่อขอรับอนุญาตหรือการดำเนินการอื่นใดจากหน่วยงานของรัฐหลายแห่งเพื่อกระทำกิจการนั้น  ซึ่งสร้างความลำบากและต้องเสียเวลาในการดำเนินการของประชาชน  ส่วนราชการจึงต้องให้ความสะดวกในการดำเนินการของประชาชน  โดยเริ่มแรกจัดให้แต่ละกระทรวงรวมงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการประชาชนไว้ในที่เดียวเป็นศูนย์บริการร่วม  ซึ่งประชาชนจะมาติดต่อกับเจ้าหน้าที่นั้นเพียงครั้งเดียวสามารถดำเนินการได้ทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานของกระทรวงนั้น  และเจ้าหน้าที่จะดำเนินการติดต่อกับหน่วยงานเจ้าของเรื่องแต่ละแห่งเพื่อดำเนินการให้แล้วเสร็จในคราวเดียวกัน
               แนวทางของศูนย์บริการร่วมนี้มิใช่เป็นการรวมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตหลายๆ  เรื่อง  หลายๆ หน่วยงานมานั่งรวมไว้ที่เดียวกัน แต่เป็นกรณีที่กระทรวงหนึ่งจัดให้มีเจ้าหน้าที่ของกระทรวงนั้นเป็นผู้รับรองทุกเรื่องที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบของกระทรวงนั้น  โดยจัดสถานที่ไว้ให้ชัดเจนเพื่อให้ประชาชนที่จะมาติดต่อได้ทราบและติดต่อได้สะดวก  เจ้าหน้าที่กลุ่มนี้จะมีแบบพิมพ์ทุกเรื่องในความรับผิดชอบของแต่ละกรมในกระทรวงนั้นไว้  และเป็นผู้ตรวจสอบคำขอแทนทุกกรม  แล้วจะเป็นผู้ส่งเรื่องต่อไปยังผู้มีอำนาจพิจารณาของแต่ละกรมในกระทรวงของตน  รวมทั้งแจ้งผลการพิจารณาให้ประชาชนผู้ติดต่อได้ทราบ ซึ่งการดำเนินการตามแนวทางนี้ให้เกิดผลสำเร็จต้องได้รับความร่วมมือจากทุกกรมในกระทรวงที่ต้องจัดรูปแบบการปฏิบัติราชการให้เกิดการประสานงาน  โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ศูนย์บริการร่วมที่กระทรวงจัดตั้งขึ้น
               การดำเนินการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมตามพระราชกฤษฎีกานี้มุ่งประสงค์จะให้เป็นเจ้าหน้าที่ของแต่ละกระทรวงจัดให้มีขึ้นสำหรับงานของส่วนราชการต่าง  ๆ  ในกระทรวงนั้นเป็นหลัก  ส่วนเมื่อภายในกระทรวงสามารถจัดตั้งศูนย์บริการร่วมของกระทรวงที่ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว  กระทรวงต่าง  ๆ  อาจร่วมมือให้เกิดการประสานการปฏิบัติราชการระหว่างศูนย์บริการร่วมของแต่ละกระทรวงขึ้นได้ในงานที่มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันในอนาคต


(ที่มา : www.cmp.ubu.ac.th)

ความมุ่งหมายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

ความมุ่งหมายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖
หมวด ๑  การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มาตรา ๖

            บทบัญญัติในหมวดนี้เป็นการกำหนดขอบเขตความหมายของคำว่า  การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในภาพรวมซึ่งจะเป็นการชี้ให้เห็นวัตถุประสงค์ของการบริหารราชการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา  และเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการของทุกส่วนราชการในการกระทำภารกิจใดภารกิจหนึ่งว่า ต้องมีความมุ่งหมายให้บรรลุเป้าหมายในสิ่งเหล่านี้  คือ
             เกิดประโยชน์สุขของประชาชน  ซึ่งได้แก่  การบริหารราชการที่สามารถตอบสนอง  (responsiveness)  ต่อความต้องการของประชาชนและพยายามมุ่งให้เกิดผลกระทบในเชิงบวก  (positive impact)  ต่อการพัฒนาชีวิตของประชาชน
              เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ  ซึ่งได้แก่  การบริหารเพื่อให้ได้รับผลลัพธ์  (outcome)  ตรงตามวัตถุประสงค์  (objective)  ที่วางไว้  โดยมีการบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์  (resault-based management)  และการจัดทำข้อตกลงว่าด้วยผลงาน  (performance agreement) ในทุกระดับ
             ๓มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ  ซึ่งได้แก่การบริหารที่จะต้องพิจารณาในเชิงเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยนำเข้า  (input)  กับผลลัพธ์  (outcome)  ที่เกิดขึ้น  โดยมีการทำ  cost- benefit analysis  ให้สามารถวิเคราะห์ความเป็นไปได้และความคุ้มค่าของแผนงานหรือโครงการต่าง  ๆ  เทียบกับประโยชน์ที่ได้รับ  รวมทั้งจัดระบบการวางเป้าหมายการทำงานและวัดผลงานของแต่ละบุคคล  (individual scorecards)  ที่เชื่อมโยงกับระดับองค์การ  (organization scorecards)
             .  ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น ซึ่งได้แก่ การกำหนดระยะเวลาปฏิบัติงานและการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน  (process simplification)  และจัดให้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจ (empowerment) เพื่อให้การปฏิบัติงานเสร็จสิ้นที่จุดบริการใกล้ตัวกับประชาชน รวมทั้งการปฏิบัติงานในรูปone-stop service
             มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งได้แก่  การทบทวนและปรับปรุงกระบวนการ  และขั้นตอนทำงานใหม่อยู่เสมอ  (process redesign)  ซึ่งจำเป็นต้องทบทวนลำดับความสำคัญและความจำเป็นของแผนงานและโครงการทุกระยะ  (program evaluation)  การยุบเลิกส่วนราชการที่ไม่จำเป็นและการปรับปรุงกฎหมาย  กฎ  ระเบียบต่าง  ๆ  ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์อยู่เสมอ
             ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ  ซึ่งได้แก่  การปฏิบัติราชการที่มุ่งเน้นถึงความต้องการและความพึงพอใจของประชาชน  ผู้รับบริการเป็นหลัก  โดยมีการสำรวจความต้องการของประชาชน  (citizen survey)  และความพึงพอใจของผู้รับบริการ  (customer survey)  ในหลากหลายวิธีและเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อนำมาปรับปรุงการปฏิบัติราชการต่อไป
             มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ  ซึ่งได้แก่  การตรวจสอบและวัดผลการปฏิบัติงาน  เพื่อให้เกิดระบบการควบคุมตนเอง  (internal control)  ซึ่งจะทำให้สามารถผลักดันการปฏิบัติงานขององค์กรให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             หลักการดังกล่าวข้างต้น  เป็นหัวข้อสำคัญในการกำหนดความหมายของการบริหารราชการที่ดีที่พึงประสงค์ตามแนวทางที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  (ฉบับที่ ๕.. ๒๕๔๕  ส่วนรายละเอียดวิธีการปฏิบัตินั้นในพระราชกฤษฎีกาได้แยกบัญญัติขยายความหมายไว้ในแต่ละหมวดต่อไป  ตั้งแต่หมวดที่  ๒  ถึงหมวดที่  ๘

(ที่มา : www.cmp.ubu.ac.th)

วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557

หลักพื้นฐานการสร้างธรรมาภิบาล

               ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี 
ว่าด้วย การสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542
               ธรรมาภิบาล มีองค์ประกอบ 6 ประการ คือ
               1. หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรมเป็นที่ยอมรับของสังคม ไม่เลือกปฏิบัติ และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมายและกฎข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมาย มิใช่ตามอำเภอใจหรือตามอำนาจของตัวบุคคล
               2. หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกัน โดยมีการให้และการรับข้อมูลที่สะดวกเป็นจริง ทันการณ์ ตรงไปตรงมา มีที่มาที่ไปที่ชัดเจนและเท่าเทียม มีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้
               3. หลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ ร่วมคิดและร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศในด้านต่างๆ เช่น การแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ นอกจากนี้ รวมไปถึงการร่วมตรวจสอบ และร่วมรับผิดชอบต่อผลของการกระทำนั้น
               4. หลักความรับผิดชอบตรวจสอบได้ ได้แก่ ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้เป็นการสร้างกลไกให้มีผู้รับผิดชอบ ตระหนักในหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน
               5. หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรที่ประโยชน์คุ้มค่า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม
               6. หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม สำนึกในหน้าที่ของตนเอง มีความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัยและเคารพในสิทธิของผู้อื่น

วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ข้อแตกต่างกระบวนการพิจารณาทางวินัยและทางอาญา

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๘๔๙/๒๕๕๕
ป.วิ.อ. การรับฟังพยานหลักฐาน (มาตรา ๒๒๗)
พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ (มาตรา ๕๔)
                 การดำเนินคดีอาญาเป็นการดำเนินการเพื่อนำตัวผู้กระทำผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่นที่กำหนดโทษทางอาญาไว้มาลงโทษตามกฎหมาย การดำเนินคดีอาญามีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศในด้านต่าง ๆ ความสงบเรียบร้อยของสังคม และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ประมวลกฎหมายอาญาจึงกำหนดโทษทางอาญาไว้หลายระดับ คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ซึ่งโทษดังกล่าวเป็นมาตรการทางกฎหมายที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของบุคคลโดยตรงอย่างรุนแรง
                ดังนั้น โดยหลักการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และการพิจารณาคดีอาญาของศาลยุติธรรมจึงต้องเข้มงวดในการพิสูจน์ความผิดของจำเลย โจทก์จะต้องอ้างพยานหลักฐานและนำ สืบพิสูจน์ความผิดของจำเลยต่อศาลให้ปรากฏอย่างชัดแจ้งจนปราศจากข้อสงสัย ศาลจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ หากปรากฏข้อสงสัยว่าจำเลยได้กระทำผิดอาญาจริงหรือไม่ แม้เพียงเล็กน้อย ศาลก็จะยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยตามนัยมาตรา ๒๒๗ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
                 ส่วนการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการเป็นมาตรการทางการปกครองและการบังคับบัญชาที่มีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อควบคุมความประพฤติของข้าราชการให้อยู่ในกรอบระเบียบวินัยของทางราชการเพื่อให้ข้าราชการปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล บรรลุเป้าหมายและภารกิจขององค์กร โทษทางวินัยเป็นเพียงมาตรการทางการปกครองซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าโทษทางอาญา กระบวนการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการจึงมีความเข้มงวดน้อยกว่าการดำเนินคดีอาญา โดยกฎหมายกำหนดให้เป็นดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสม ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
                 การดำเนินการทางวินัยและการดำเนินคดีอาญาจึงมีความมุ่งหมายและกระบวนวิธีพิจารณาที่แตกต่างกัน การดำเนินการทางวินัยจึงไม่จำต้องสอดคล้องหรือถือตามผลการดำเนินคดีอาญาแต่อย่างใด แม้ศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องผู้ฟ้องคดีก็ตาม แต่คำพิพากษาดังกล่าวหาได้วินิจฉัยอย่างชัดแจ้งว่า เมทแอมเฟตามีนเป็นของบุคคลอื่น หรือผู้ใดเป็นผู้นำเอาเมทแอมเฟตามีนมาซ่อนไว้ในรถยนต์ของผู้ฟ้องคดี อันจะถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีพยานหลักฐานใหม่อันอาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้วเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ ตามนัยมาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ ที่จะมีผลให้ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ พิจารณาคำสั่งลงโทษทางวินัยผู้ฟ้องคดีใหม่ได้

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๓๘๐/๒๕๕๔
พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๓๕
พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ.๒๕๒๑
                การดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการนั้น เจตนารมณ์เพื่อควบคุมความประพฤติและการปฏิบัติตนของข้าราชการให้อยู่ในกรอบอันดีงามเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ถือเป็นเรื่องการบริหารงานบุคคลที่ทางราชการกำหนดกฎเกณฑ์ไว้เป็นเฉพาะแก่ข้าราชการเท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องดำเนินการเหมือนกระบวนการในการลงโทษผู้กระทำผิดทางอาญา
                เมื่อการสอบสวนปรากฏพยานหลักฐานรับฟังได้อย่างชัดแจ้งว่า ผู้ฟ้องคดีมีพฤติการณ์และการกระทำเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง ซึ่งเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้พิจารณาดำเนินการทางวินัยและใช้อำนาจออกคำสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ โดยมิได้รอผลคดีอาญา เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย และคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่มีมติให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีก็เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๓๕๐/๒๕๕๔
พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๓๕ (มาตรา ๘๒ วรรคสาม, ๘๕ วรรคสอง, ๙๘ วรรคสอง)
                ในคดีอาญานั้น ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ต่อเมื่อมีพยานหลักฐานปรากฎชัดแจ้งปราศจากข้อสงสัย ส่วนการลงโทษทางวินัยนั้นผู้บังคับบัญชาสามารถใช้ดุลยพินิจสั่งลงโทษผู้ถูกกล่าวหาได้โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานและพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหาที่ปรากฎในสำนวนของคณะกรรมการสอบสวนเป็นสำคัญ โดยไม่จำเป็นต้องปรากฏพยานหลักฐานชัดแจ้งปราศจากข้อสงสัยดังเช่นคดีอาญาและไม่ต้องรอฟังผลคดีอาญาให้ถึงที่สุดแต่อย่างใด
               แม้ว่าในคดีอาญาจะไม่มีการลงโทษทางอาญาแก่ผู้ฟ้องคดีก็ตาม แต่ผลการลงโทษทางวินัยก็หาจำต้องมีผลไปในทางเดียวกันไม่ เพราะกระบวนการพิจารณาทางวินัยและทางอาญามีความแตกต่างกัน การรับฟังพยานก็อาจจะมีความแตกต่างกันได้