วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560

เอกสารการฟ้องคดีปกครอง

เอกสารที่ต้องใช้ในการประกอบการดำเนินคดี
เอกสารที่ต้องส่งให้สำนักงานคดีปกครองพร้อมกับหนังสือขอให้ดำเนินคดีแทน 
กรณีหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องคดีปกครอง (คดีแก้ต่าง)

             ๑.  หนังสือขอความอนุเคราะห์ให้พนักงานอัยการดำเนินคดีคดีปกครองแทน (แก้ต่างคดี) ให้ระบุชื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ประสงค์จะขอให้พนักงานอัยการดำเนินคดีแทนให้ถูกต้องตรงตามคำสั่งศาล หากกรณีผู้ถูกฟ้องคดีหลายคนให้ระบุให้ชัดเจนว่าประสงค์จะให้พนักงานอัยการ ดำเนินคดีแทนผู้ถูกฟ้องคดีคนใดบ้าง
             ๒.  สำเนาคำสั่งเรียกให้ทำคำให้การและสำเนาคำฟ้อง ๑ ชุด
             ๓.  การมอบอำนาจ (๒ ชุด)
                   ๓.๑  กรณีที่หน่วยงาน / ผู้ที่ดำรงตำแหน่ง (ถูกฟ้องโดยตำแหน่ง)
                           ๓.๑.๑ หนังสือมอบอำนาจ (กรณีหน่วยงานต้องลงนามโดยผู้แทนที่มีอำนาจตามกฎหมาย)
                           ๓.๑.๒ สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจหรือผู้ถูกฟ้องที่แสดง ตำแหน่ง   พร้อมคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งของผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจ และรับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าของบัตร
                           ๓.๑.๓ กรณีรักษาการแทนหรือปฏิบัติราชการแทน ต้องมีคำสั่งรักษาการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนด้วย
                  ๓.๒  กรณีคณะกรรมการถูกฟ้อง
                           ๓.๒.๑ กรณีมีมติที่ประชุม
                                      ๑) มติที่ประชุมของคณะกรรมการ มอบหมายให้ ประธานหรือเลขานุการหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด  มีอำนาจในการมอบอำนาจให้พนักงานอัยการดำเนินคดีแทนคณะกรรมการพร้อมรายงาน การประชุมในเรื่องดังกล่าว
                                      ๒) หนังสือมอบอำนาจ (ผู้มีอำนาจตามมติที่ประชุมคณะกรรมการ มอบอำนาจให้พนักงานอัยการดำเนินคดีแทน)
                                      ๓) สำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
                                      ๔) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ
                           ๓.๒.๒ กรณีไม่มีมติที่ประชุม
                                      ๑) หนังสือมอบอำนาจจากกรรมการทุกคน ที่มอบอำนาจให้พนักงานอัยการดำเนินคดีแทน
                                      ๒) สำเนาบัตรฯ คณะกรรมการทุกคน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าของบัตร
                                      ๓) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ
                                      ๔) หนังสือมอบอำนาจของผู้รับมอบอำนาจจากกรรมการทุกคนที่มอบอำนาจให้กรรมการคนหนึ่งกระทำแทนทุกคน และการมอบอำนาจนั้นระบุให้ มอบอำนาจช่วงให้พนักงานอัยการดำเนินคดีแทน
                                      ๕) สำเนาบัตรฯ ของผู้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าของบัตร
             ๔.  เอกสารที่ใช้ประกอบการดำเนินคดี พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (3 ชุด)  เช่น คำสั่งที่ขอให้เพิกถอน, ผลการสอบทางวินัย, ผลการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์, แผนที่, ภาพถ่าย เป็นต้น
             ๕.  เอกสารสรุปข้อเท็จจริง

              กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ถูกฟ้อง ให้หัวหน้าส่วนราชการ เป็นผู้ลงนามในหนังสือขอความอนุเคราะห์ทั้งในราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
              ข้อควรพึงระวัง  หากผู้ถูกฟ้องคนใดได้ยื่นคำให้การหรือเอกสารที่แสดงให้เห็นว่าได้ยื่นคำให้ การไปแล้ว พนักงานอัยการจะไม่รับดำเนินคดีแทน ดังนั้น การแจ้งตอบหนังสือของศาลปกครองก่อนส่งเรื่องให้พนักงานอัยการจึงควรระมัดระวังอย่างยิ่งที่จะไม่ให้เป็นคำให้การหรือชี้แจงข้อเท็จจริง

กรณีหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ประสงค์ให้ฟ้องคดีปกครอง
กรณีผิดสัญญาหรือกรณีอื่น ๆ เพื่อเรียกค่าเสียหายจากเอกชนหรือจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ว่าต่าง)
             ๑.  หนังสือขอความอนุเคราะห์ให้พนักงานอัยการว่าต่างคดี (ขอให้ฟ้องร้องใครบ้าง ให้ระบุมาในหนังสือให้ชัดเจน)
             ๒.  การมอบอำนาจ (2 ชุด)
                   ๒.๑  กรณีที่หน่วยงาน
                           ๒.๑.๑ หนังสือมอบอำนาจซึ่งจะลงนามโดยผู้แทนที่มีอำนาจตามกฎหมาย
                           ๒.๑.๒ สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจที่แสดงตำแหน่ง   พร้อมคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งของผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจ และรับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าของบัตร
                           ๒.๑.๓ กรณีรักษาการแทนหรือปฏิบัติราชการแทน ต้องมีคำสั่งรักษาการแทนหรือคำสั่งปฏิบัติราชการแทนด้วย
                  ๒.๒  กรณีคณะกรรมการ
                          ๒.๒.๑ กรณีมีมติที่ประชุม
                                     ๑) มติที่ประชุมของคณะกรรมการ มอบหมายให้ ประธานหรือเลขานุการหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด    มีอำนาจในการมอบอำนาจให้พนักงานอัยการดำเนินคดีแทนคณะกรรมการ
                                     ๒) หนังสือมอบอำนาจ (ผู้มีอำนาจตามมติที่ประชุมคณะกรรมการ มอบอำนาจให้พนักงานอัยการดำเนินคดีแทน)
                                     ๓) สำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
                                     ๔) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ
                          ๒.๒.๒ กรณีไม่มีมติที่ประชุม
                                     ๑) หนังสือมอบอำนาจจากกรรมการทุกคนหรือกรณีกรรมการคนใดคนหนึ่งในคณะกรรมการซึ่ง รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการ    มีอำนาจมอบอำนาจให้พนักงานอัยการดำเนินคดีแทน
                                     ๒) สำเนาบัตรฯ คณะกรรมการทุกคนหรือคนที่รับมอบอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าของบัตร
                                     ๓) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ
                                     ๔) หนังสือมอบอำนาจของผู้รับมอบอำนาจจากกรรมการทุกคน ที่มอบอำนาจช่วงให้พนักงานอัยการดำเนินคดีแทน
                                     ๕) สำเนาบัตรฯ ของผู้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าของบัตร
             ๓.  เอกสารที่ใช้ประกอบการดำเนินคดี พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (๓ ชุด) เช่น สัญญา, สัญญาค้ำประกัน, ผลสอบทางละเมิด,   ผลสอบกรมบัญชีกลาง, หนังสือบอกกล่าวทวงถาม
             ๔.  เอกสารสรุปข้อเท็จจริง