วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การจัดตั้งศูนย์บริการร่วม

การจัดตั้งศูนย์บริการร่วม
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖
หมวด ๕  การลดขั้นตอนการปฏิบัติ มาตรา ๒๙, ๓๐ , ๓๑ , ๓๒
               (ให้เป็นหน้าที่ของแต่ละกระทรวงต้องจัดส่วนราชการภายในที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานกับประชาชนให้รวมเป็นศูนย์บริการร่วมแห่งเดียวที่ประชาชนจะสามารถติดต่อสอบถาม ขอข้อมูล  ขออนุญาตหรือขออนุมัติได้พร้อมกันทุกเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงนั้น
               (กระทรวงต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่และแบบพิมพ์ที่จำเป็นในศูนย์บริการร่วม  เพื่อให้เจ้าหน้าที่นั้นบริการประชาชนได้อย่างครบถ้วน  โดยเจ้าหน้าที่นั้นจะต้องสามารถแจ้งรายละเอียดรับเอกสารหลักฐานที่จำเป็น  แจ้งให้ทราบระยะเวลาการดำเนินการ และเป็นผู้ติดต่อประสานกับส่วนราชการอื่น  เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายหรือกฎในเรื่องนั้น  ๆ
               (ในการดำเนินการของศูนย์บริการร่วม  ถ้าหากมีปัญหาหรืออุปสรรคที่ไม่อาจดำเนินการได้  เพราะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่มีกฎหมายหรือกฎระเบียบกำหนดไว้  ให้ส่วนราชการแจ้งให้  ก..ทราบเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีให้มีการปรับปรุงกฎหมายหรือกฎระเบียบนั้นต่อไป
               () แนวทางการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมของกระทรวงนี้  ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอจัดให้มีขึ้นในจังหวัดหรืออำเภอ  แล้วแต่กรณี  ตามที่ตนต้องรับผิดชอบด้วย

               การจัดตั้งศูนย์บริการร่วมเป็นการสร้างมาตรการเพื่อลดขั้นตอนในการติดต่อขอรับบริการจากรัฐ  ซึ่งโดยปกติในสภาพกฎหมายปัจจุบัน การดำเนินการสิ่งหนึ่งสิ่งใดของประชาชนจะต้องติดต่อขอรับอนุญาตหรือการดำเนินการอื่นใดจากหน่วยงานของรัฐหลายแห่งเพื่อกระทำกิจการนั้น  ซึ่งสร้างความลำบากและต้องเสียเวลาในการดำเนินการของประชาชน  ส่วนราชการจึงต้องให้ความสะดวกในการดำเนินการของประชาชน  โดยเริ่มแรกจัดให้แต่ละกระทรวงรวมงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการประชาชนไว้ในที่เดียวเป็นศูนย์บริการร่วม  ซึ่งประชาชนจะมาติดต่อกับเจ้าหน้าที่นั้นเพียงครั้งเดียวสามารถดำเนินการได้ทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานของกระทรวงนั้น  และเจ้าหน้าที่จะดำเนินการติดต่อกับหน่วยงานเจ้าของเรื่องแต่ละแห่งเพื่อดำเนินการให้แล้วเสร็จในคราวเดียวกัน
               แนวทางของศูนย์บริการร่วมนี้มิใช่เป็นการรวมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตหลายๆ  เรื่อง  หลายๆ หน่วยงานมานั่งรวมไว้ที่เดียวกัน แต่เป็นกรณีที่กระทรวงหนึ่งจัดให้มีเจ้าหน้าที่ของกระทรวงนั้นเป็นผู้รับรองทุกเรื่องที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบของกระทรวงนั้น  โดยจัดสถานที่ไว้ให้ชัดเจนเพื่อให้ประชาชนที่จะมาติดต่อได้ทราบและติดต่อได้สะดวก  เจ้าหน้าที่กลุ่มนี้จะมีแบบพิมพ์ทุกเรื่องในความรับผิดชอบของแต่ละกรมในกระทรวงนั้นไว้  และเป็นผู้ตรวจสอบคำขอแทนทุกกรม  แล้วจะเป็นผู้ส่งเรื่องต่อไปยังผู้มีอำนาจพิจารณาของแต่ละกรมในกระทรวงของตน  รวมทั้งแจ้งผลการพิจารณาให้ประชาชนผู้ติดต่อได้ทราบ ซึ่งการดำเนินการตามแนวทางนี้ให้เกิดผลสำเร็จต้องได้รับความร่วมมือจากทุกกรมในกระทรวงที่ต้องจัดรูปแบบการปฏิบัติราชการให้เกิดการประสานงาน  โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ศูนย์บริการร่วมที่กระทรวงจัดตั้งขึ้น
               การดำเนินการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมตามพระราชกฤษฎีกานี้มุ่งประสงค์จะให้เป็นเจ้าหน้าที่ของแต่ละกระทรวงจัดให้มีขึ้นสำหรับงานของส่วนราชการต่าง  ๆ  ในกระทรวงนั้นเป็นหลัก  ส่วนเมื่อภายในกระทรวงสามารถจัดตั้งศูนย์บริการร่วมของกระทรวงที่ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว  กระทรวงต่าง  ๆ  อาจร่วมมือให้เกิดการประสานการปฏิบัติราชการระหว่างศูนย์บริการร่วมของแต่ละกระทรวงขึ้นได้ในงานที่มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันในอนาคต


(ที่มา : www.cmp.ubu.ac.th)

ความมุ่งหมายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

ความมุ่งหมายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖
หมวด ๑  การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มาตรา ๖

            บทบัญญัติในหมวดนี้เป็นการกำหนดขอบเขตความหมายของคำว่า  การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในภาพรวมซึ่งจะเป็นการชี้ให้เห็นวัตถุประสงค์ของการบริหารราชการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา  และเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการของทุกส่วนราชการในการกระทำภารกิจใดภารกิจหนึ่งว่า ต้องมีความมุ่งหมายให้บรรลุเป้าหมายในสิ่งเหล่านี้  คือ
             เกิดประโยชน์สุขของประชาชน  ซึ่งได้แก่  การบริหารราชการที่สามารถตอบสนอง  (responsiveness)  ต่อความต้องการของประชาชนและพยายามมุ่งให้เกิดผลกระทบในเชิงบวก  (positive impact)  ต่อการพัฒนาชีวิตของประชาชน
              เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ  ซึ่งได้แก่  การบริหารเพื่อให้ได้รับผลลัพธ์  (outcome)  ตรงตามวัตถุประสงค์  (objective)  ที่วางไว้  โดยมีการบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์  (resault-based management)  และการจัดทำข้อตกลงว่าด้วยผลงาน  (performance agreement) ในทุกระดับ
             ๓มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ  ซึ่งได้แก่การบริหารที่จะต้องพิจารณาในเชิงเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยนำเข้า  (input)  กับผลลัพธ์  (outcome)  ที่เกิดขึ้น  โดยมีการทำ  cost- benefit analysis  ให้สามารถวิเคราะห์ความเป็นไปได้และความคุ้มค่าของแผนงานหรือโครงการต่าง  ๆ  เทียบกับประโยชน์ที่ได้รับ  รวมทั้งจัดระบบการวางเป้าหมายการทำงานและวัดผลงานของแต่ละบุคคล  (individual scorecards)  ที่เชื่อมโยงกับระดับองค์การ  (organization scorecards)
             .  ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น ซึ่งได้แก่ การกำหนดระยะเวลาปฏิบัติงานและการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน  (process simplification)  และจัดให้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจ (empowerment) เพื่อให้การปฏิบัติงานเสร็จสิ้นที่จุดบริการใกล้ตัวกับประชาชน รวมทั้งการปฏิบัติงานในรูปone-stop service
             มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งได้แก่  การทบทวนและปรับปรุงกระบวนการ  และขั้นตอนทำงานใหม่อยู่เสมอ  (process redesign)  ซึ่งจำเป็นต้องทบทวนลำดับความสำคัญและความจำเป็นของแผนงานและโครงการทุกระยะ  (program evaluation)  การยุบเลิกส่วนราชการที่ไม่จำเป็นและการปรับปรุงกฎหมาย  กฎ  ระเบียบต่าง  ๆ  ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์อยู่เสมอ
             ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ  ซึ่งได้แก่  การปฏิบัติราชการที่มุ่งเน้นถึงความต้องการและความพึงพอใจของประชาชน  ผู้รับบริการเป็นหลัก  โดยมีการสำรวจความต้องการของประชาชน  (citizen survey)  และความพึงพอใจของผู้รับบริการ  (customer survey)  ในหลากหลายวิธีและเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อนำมาปรับปรุงการปฏิบัติราชการต่อไป
             มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ  ซึ่งได้แก่  การตรวจสอบและวัดผลการปฏิบัติงาน  เพื่อให้เกิดระบบการควบคุมตนเอง  (internal control)  ซึ่งจะทำให้สามารถผลักดันการปฏิบัติงานขององค์กรให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             หลักการดังกล่าวข้างต้น  เป็นหัวข้อสำคัญในการกำหนดความหมายของการบริหารราชการที่ดีที่พึงประสงค์ตามแนวทางที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  (ฉบับที่ ๕.. ๒๕๔๕  ส่วนรายละเอียดวิธีการปฏิบัตินั้นในพระราชกฤษฎีกาได้แยกบัญญัติขยายความหมายไว้ในแต่ละหมวดต่อไป  ตั้งแต่หมวดที่  ๒  ถึงหมวดที่  ๘

(ที่มา : www.cmp.ubu.ac.th)

วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557

หลักพื้นฐานการสร้างธรรมาภิบาล

               ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี 
ว่าด้วย การสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542
               ธรรมาภิบาล มีองค์ประกอบ 6 ประการ คือ
               1. หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรมเป็นที่ยอมรับของสังคม ไม่เลือกปฏิบัติ และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมายและกฎข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมาย มิใช่ตามอำเภอใจหรือตามอำนาจของตัวบุคคล
               2. หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกัน โดยมีการให้และการรับข้อมูลที่สะดวกเป็นจริง ทันการณ์ ตรงไปตรงมา มีที่มาที่ไปที่ชัดเจนและเท่าเทียม มีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้
               3. หลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ ร่วมคิดและร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศในด้านต่างๆ เช่น การแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ นอกจากนี้ รวมไปถึงการร่วมตรวจสอบ และร่วมรับผิดชอบต่อผลของการกระทำนั้น
               4. หลักความรับผิดชอบตรวจสอบได้ ได้แก่ ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้เป็นการสร้างกลไกให้มีผู้รับผิดชอบ ตระหนักในหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน
               5. หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรที่ประโยชน์คุ้มค่า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม
               6. หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม สำนึกในหน้าที่ของตนเอง มีความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัยและเคารพในสิทธิของผู้อื่น